เรารักสุพรรณ สถานที่ท่องเที่ยวสุพรรณบุรี

master240

๑. ชื่อ
พระครูสุวรรณวิจิตร ฉายา สมจิตฺโต อายุ ๖๔ พรรษา ๔๓
วิทยฐานะ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๔ ประโยค อภิธรรมบัณฑิต
สังกัด วัดสามชุก ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสามชุก

๒. สถานะเดิม
ชื่อ สมจิตต์ นามสกุล คุ้มสมบัติ
เกิดวัน ๔ ฯ ๒ ค่ำ ปี ชวด ตรงกับวันที่ ๓๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๑
บิดาชื่อ สอน มารดาชื่อ ชื้น
บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ ๔ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

๓. อุปสมบท
วัน ๕ ฯ ๔ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๓ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
ณ พัทธสีมาวัดหนองหลวง ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระอุปัชฌาย์  พระครูสุวรรณวุฒาจารย์   วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา  อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี
พระกรรมวาจารย์ พระครูสุธรรมวโรภาส วัดบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
พระอนุสาวนาจารย์ พระอธิการเทียบ อานนฺโท วัดหนองหลวง ตำบลหนองหญ้าไซ
อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

๔.วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๕๐๑ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนวัดดอนสำโรง ตำบลหนองหญ้าไซ
อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๔ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สังกัดสำนักศาสนศึกษา
วัดลาวทอง สำนักเรียนคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๙ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค
สำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๔๓ สำเร็จการศึกษาอภิธรรมบัณฑิต
สำนักเรียนอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
๕. งานปกครอง
พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นพระกรรมวาจารย์
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามชุก

พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเจ้าคณะตำบลสามชุก
พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดสามชุก
พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพระภิกษุจำพรรษา ๒๑ รูป สามเณร ๒ รูป
ศิษย์ ๒ คน อารามิกชน ๕ คน
พ.ศ. ๒๕๕๓ มีพระภิกษุจำพรรษา ๖๕ รูป สามเณร ๔ รูป
ศิษย์ ๒ คน อารามิกชน ๕ คน
พ.ศ. ๒๕๕๔ มีพระภิกษุจำพรรษา ๓๖ รูป สามเณร ๕ รูป
ศิษย์ ๒ คน อารามิกชน ๕ คน
มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า – เย็นตลอดปี
มีการทำอุโบสถสังฆกรรมทุกกึ่งเดือน ตลอดปี
มีพระภิกษุสวดปาฏิโมกข์ได้ ๑ รูป
มีระเบียบการปกครองวัดเป็นไปตามพระธรรมวินัย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม
จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
๖.งานศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สำนักเรียนวัดสามชุก
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง
ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเจ้าสำนักเรียนศาสนศึกษา วัดสามชุก
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นเจ้าสำนักเรียนพระอภิธรรม มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวัดสามชุก
พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นประธานดำเนินการสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก
มีนักเรียนพระปริยัติแผนกธรรม ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๕๒
นักธรรมชั้นตรี สมัครสอบ ๖ รูป สอบได้ ๖ รูป สอบตก - รูป
นักธรรมชั้นโท สมัครสอบ ๑ รูป สอบได้ ๑ รูป สอบตก - รูป
นักธรรมชั้นเอก สมัครสอบ ๑ รูป สอบได้ ๑ รูป สอบตก - รูป
ธรรมศึกษาชั้นตรี สมัครสอบ ๒๗๐ คน สอบได้ ๑๖๕คน สอบตก ๑๐๕ คน
ธรรมศึกษาชั้นโท สมัครสอบ ๒๐ คน สอบได้ ๒๐ คน สอบตก - คน
ธรรมศึกษาชั้นเอก สมัครสอบ ๓๒ คน สอบได้ - คน สอบตก ๓๒ คน
พ.ศ. ๒๕๕๓
นักธรรมชั้นตรี สมัครสอบ ๔๕รูป สอบได้ ๓๕ รูป สอบตก ๑๐ รูป
นักธรรมชั้นโท สมัครสอบ ๕ รูป สอบได้ ๓ รูป สอบตก ๒ รูป
นักธรรมชั้นเอก สมัครสอบ ๒ รูป สอบได้ - รูป สอบตก ๒ รูป
ธรรมศึกษาชั้นตรีสมัครสอบ ๓๔๕ คนสอบได้ ๑๙๘ คน สอบตก ๑๔๗คน
ธรรมศึกษาชั้นโท สมัครสอบ ๓๓ คนสอบได้ ๓๑ คน สอบตก ๒ คน
ธรรมศึกษาชั้นเอก สมัครสอบ ๓๒ คน สอบได้ ๒๒ คน สอบตก ๑๐ คน
พ.ศ. ๒๕๕๔
นักธรรมชั้นตรี สมัครสอบ ๔๕รูป สอบได้ ๓๕ รูป สอบตก ๑๐ รูป
นักธรรมชั้นโท สมัครสอบ ๕ รูป สอบได้ ๓ รูป สอบตก ๒ รูป
นักธรรมชั้นเอก สมัครสอบ ๒ รูป สอบได้ - รูป สอบตก ๒ รูป
ธรรมศึกษาชั้นตรีสมัครสอบ ๓๔๕ คนสอบได้ ๑๙๘ คน สอบตก ๑๔๗คน
ธรรมศึกษาชั้นโท สมัครสอบ ๓๓ คนสอบได้ ๓๑ คน สอบตก ๒ คน
ธรรมศึกษาชั้นเอก สมัครสอบ ๓๒ คน สอบได้ ๒๒ คน สอบตก ๑๐ คน
วิธีการส่งเสริมการศึกษา ดังนี้
๑. จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนเช่นหนังสือ สมุด เป็นต้น แจกแก่นักเรียน
๒. ส่งพระภิกษุสามเณร ศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนอื่น
๗. งานศึกษาสงเคราะห์
ตั้งทุนการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๓๖ ตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนระดับประถมศึกษาวัดสามชุก
ธนาคารออมสิน สาขาสามชุก ชื่อบัญชี “กองทุนนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาวัดสามชุก เลขที่บัญชี ๑๐๑๐๐๓ -๓๔๐๓๐๕๗-๐
ประเภทฝากประจำ ๑๒ เดือน ตั้งทุนครั้งแรก ๒๖,๐๐๐ บาท
ปัจจุบันมีทุนจำนวน ๑๐๕,๐๔๑บาท (หนึ่งแสนห้าพันสี่สิบเอ็ดบาท)
เพิ่มทุนการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑ เพิ่มทุนประถมศึกษาชื่อบัญชี “กองทุนนักเรียนชั้นประถมศึกษา
วัดสามชุก” ธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
เลขที่บัญชี ๑๐-๑๐๐๓-๓๔-๐๐๓๐๕๗-๐ประเภทฝากประจำ ๑๒ เดือน
จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพิ่มทุนประถมศึกษาชื่อบัญชี “กองทุนนักเรียนชั้นประถมศึกษาวัดสามชุก”
จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๓ เพิ่มทุนประถมศึกษาชื่อบัญชี “กองทุนนักเรียนชั้นประถมศึกษา
วัดสามชุก” จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเพิ่มทุน ๑๖,๐๐๐ บาท
๘. แจกทุนการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๒ แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนวัดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท จำนวน ๒ ทุน
ทุนละ ๕๐๐ บาท จำนวน ๑๔ ทุน
ทุนละ ๓๐๐ บาท จำนวน ๖ ทุน
ทุนละ ๒๐๐ บาท จำนวน ๖ ทุน
ทุนละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๖ ทุน
รวมเป็นเงิน ๑๒,๖๐๐ บาท
แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี
ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท จำนวน ๒ ทุน จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
รวม ๑ ๕,๖๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๓ แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนวัดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
๓๓ ทุน เป็นเงิน ๑๒,๖๐๐ บาท
แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี
ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท จำนวน ๒ ทุน รวม ๓,๐๐๐ บาท
รวมเงินแจกทุน ๑๕,๖๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนวัดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
๓๓ ทุน จำนวน ๑๒,๖๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยบาท)
แจกทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี
ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท ๒ ทุน รวม ๓,๐๐๐ บาท
รวมแจกทุน ๑,๕,๖๐๐ บาท
รวมแจกทุน ๓ ปี ๔๖,๘๐๐ บาท (สี่หมื่นหกพันแปดร้อยบาท)
อาคารสถานที่
พ.ศ. ๒๕๔๓ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนวัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สร้างสระว่ายน้ำเด็กอนุบาล จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๕ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนวัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สร้างกำแพงโรงเรียน จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๕ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนวัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สร้างถนนคอนกรีต จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๕ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนวัดทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี
สร้างเครื่องปลิ้นเตอร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๒ ทูลเกล้าถวายเงินสนับสนุนการศึกษาผ่านดาวเทียม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
๖ ครั้ง ครั้งละ ๒๐,๐๐๐ บาท
จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๘ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนหรรษาสุจิตวิทยา ๒ อ.บางปลาม้า
จังหวัดสุพรรณบุรีซื้อเครื่องขยายเสียง
จำนวน ๒๕,๐๐๐บาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ บริจาคทรัพย์ให้โรงเรียนวัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
โครงการอาหารกลางวัน จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นประธานหาเงินให้โรงเรียนวัดสามชุก
สร้างห้องสมุด จำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท
รวมเงินสนับสนุนการศึกษา ๘๑๕,๐๐๐ บาท
(แปดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาท)
สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน
- สนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ให้โรงเรียนวัดสามชุก
- สนับสนุนโรงเรียนจัดงานวันเด็ก และกิจกรรมอื่น ๆ โดย
นำอุปกรณ์ของใช้ในงานเช่นเครื่องไฟขยายเสียง
- สนับสนุนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ใช้อาคารเรียน
เป็นที่เรียนหนังสือ
- เป็นกรรมการอำนวยการจัดประกวดสวดมนต์หมู่ ให้ใช้สถานที่
และจัดอาหารเลี้ยงนักเรียนและผู้มาร่วมงาน
๙. งานเผยแผ่
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานศูนย์เผยแพร่ศีลธรรมวัดสามชุก
ในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นประธานศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ
ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ
ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลสามชุก
(อ.ป.ต.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุพรรณบุรีแห่งที่ ๔
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นพระธรรมทูต ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นพระธรรมทูตปฏิบัติการเขตอำเภอสามชุก อบรม
ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นหัวหน้าพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นพระบัณฑิตเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๒ จบหลักสูตร วิทยากรประจำศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ
๗๒ พรรษา ณ วัดคีรีวง จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ.๒๕๔๔ จบหลักสูตร “พระกัมมัฏฐานประจำจังหวัด”
ณ สถาบันส่งเสริมและพัฒนาพระสังฆาธิการ จังหวัดราชบุรี
พ.ศ.๒๕๔๔ จบหลักสูตร “นักเผยแผ่ธรรมทางวิทยุกระจายเสียง” รุ่นที่ ๗
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์
พ.ศ.๒๕๔๔ จบหลักสูตรพระนักเทศน์แม่แบบ จัดโดย กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ ณ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๔๖ จบหลักสูตรการอบรมวิทยากรทีมนำการจัดการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา
ณ สถาบันผู้บริหารพระพุทธศาสนา จังหวัดนครปฐม
- เทศนาอบรมสั่งสอนเยาวชนและประชาชน ในวันสำคัญต่างๆ
- ทำพิธีมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี มีผู้มาร่วมพิธี พระภิกษุ-สามเณร ๒๐ รูป
ประชาชน ๒๐๐ คน
- ทำพิธีวิสาขบูชา เป็นประจำทุกปี
- ทำพิธีอาสาฬหบูชา เป็นประจำทุกปี
- มีการอบรม ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม แก่พระภิกษุสามเณร
- แจกหนังสือคู่มือจริยธรรม หนังสือพระพุทธศาสนา
- ส่งพระในวัด ๔ รูป สอนศีลธรรมโรงเรียน ในเขตอำเภอสามชุก
- ผู้มาถือศีลฟังธรรมวันพระ ๓๐ คน ผู้มาทำบุญเป็นประจำ ๗๐ คน
- มีผู้มาทำบุญในงานเทศกาล แต่ละครั้งประมาณ ๒๐๐ คน
- มีกิจกรรมการเผยแผ่ ให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์
ในการเผยแผ่ศีลธรรม
- มีกิจกรรมการเผยแผ่ ให้ความร่วมมือกับทางราชการ ใช้สถานที่วัด
จัดโครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่อื่น
- จัดบรรพชาอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน พ.ศ.๒๕๒๖ ถึงปัจจุบัน
- จัดปฏิบัติธรรมพุทธศาสนิกชนทั่วไป พ.ศ.๒๕๒๘ ถึงปัจจุบัน
ปีละ ๒ ครั้ง
- จัดอบรมศีลธรรม “เข้าค่ายพุทธบุตร” พ.ศ.๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน
หลักสูตร ๒ คืน ๓ วัน จัดผ่านไปแล้ว ๑๗๗ รุ่น
- จัดปฏิบัติธรรม ข้าราชการ ในจังหวัดสุพรรณบุรี
- บรรยายธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัด
สุพรรณบุรี ส.ว.ท.เอฟเอ็ม ๑๐๒.๒๕ เมกกะเฮิรตซ์
- บรรยายธรรมทางสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี วัดสามชุก
ภาคเอฟเอ็ม ๑๐๐.๒๕ เมกกะเฮิรตซ์
๑๐.งานด้านสาธารณูปการ
งานก่อสร้าง
พ.ศ. ๒๕๓๙ สร้างกุฏิลักษณะทรงไทย ๘ หลัง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๒.๕๐ เมตร ค่าก่อสร้าง
๙๕๐,๐๐๐ บาท (เก้าแสนห้าหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างห้องสุขา-ห้องอาบน้ำ ๑ หลัง ๘ ห้อง
ค่าก่อสร้าง ๑๗๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างห้องสุขา-ห้องอาบน้ำ ๑ หลัง ๑๐ ห้อง
ค่าก่อสร้าง ๑๙๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๕ ก่อสร้างต่อเติมกุฏิ เป็นห้องสมุด ๑ หลัง
ห้องเรียนปริยัติธรรม ๒ ห้อง ค่าก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๖ ก่อสร้างโรงทาน กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๔ เมตร
ค่าก่อสร้าง ๑,๒๕๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างเขื่อนริมน้ำหน้าวัดปูอิฐตัวหนอน ปลูกไม้ประดับ
ค่าก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๙ สร้างถนนรอบศาลาการเปรียญเทคอนกรีตเสริมเหล็ก
กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕๐ เมตร
ค่าก่อสร้าง ๒๘๐,๐๐๐ บาท
รวมค่าก่อสร้าง ๑,๙๖๒,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนหกหมื่นสองพันบาท)
๑๑. งานบูรณปฏิสังขรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๖ บูรณปฏิสังขรณ์หอสวดมนต์ ลักษณะทรงไทย กว้าง ๑๒ เมตร
ยาว ๒๔ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑,๒๘๗,๑๖๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๖ บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิ ๔
พ.ศ. ๒๕๔๐ บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญลักษณะทรงไทย
ค่าก่อสร้าง ๒,๕๕๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนห้าหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๖ บูรณปฏิสังขรณ์ ซุ้มประตูและกำแพงวัด ยาว ๒๐๐ เมตร
ค่าก่อสร้าง ๒๒๕,๐๐๐ บาท (สองแสนสองหมื่นห้าพันบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๘ บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญลักษณะทรงไทย กว้าง ๒๐ เมตร
ยาว ๓๓ เมตร เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา ปิดทองหน้าบรรณ
ตีฝาผนัง,ติดประตูหน้าต่าง, มุ้งลวด

พ.ศ. ๒๕๕๑ บูรณปฏิสังขรณ์มณฑปสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธบาทสี่รอย

พ.ศ. ๒๕๕๓ ซื้อที่ดินติดกับวัด ๔ ไร่ ๑ งาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ ลักษณะทรงไทย กว้าง ๑๐ เมตร
ยาว ๒๒ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒,๓๕๐,๐๐๐ บาท
รวมค่าบูรณปฏิสังขรณ์จำนวน ๑๐,๙๓๙,๑๖๐ บาท
(สิบล้านเก้าแสนสามหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยหกสิบบาท)
มีการพัฒนาวัดดังนี้
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นวัดที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง
ของชุมชนภาคกลาง จากการทำวิจัยของกองแผนงาน
กรมการศาสนา ร่วมกับสถาบันราชภัฎ
พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลสามชุก
กระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นวัดดีเด่นด้านการจัดวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ในโครงการวิจัยและ
ส่งเสริมวัดเพื่อการพัฒนาการศึกษา และเผยแผ่ศาสนธรรม
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
๑๒. งานด้านสาธารณสงเคราห์
พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงปัจจุบัน อนุญาตให้ทางราชการใช้สถานที่วัดเป็นสถานที่ตรวจเลือกทหาร
พ.ศ.๒๕๓๘ สร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำท่าจีนหน้าวัดสามชุก กว้าง ๑๕๐ เมตร ยาว ๙๒ เมตร
สิ้นเงิน ๒,๔๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๐ สร้างถนนคอนกรีต ระหว่างวัดและหมู่บ้าน กว้าง ๕ เมตร
ยาว ๔๐๐ เมตร สิ้นเงินจำนวน ๖๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๒ ทูลเกล้าฯถวายเงิน สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
โดยพระราชกุศล ๖ ครั้งๆ ละ ๒๐,๐๐๐ บาท รวม ๑๒๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๔๖ ตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อการเผยแผ่ธรรมะ-ข่าวสาร
แก่ชุมชน รับฟังได้ในจังหวัดสุพรรณบุรี คลื่นความถี่ ๑๐๐.๒๕ เม็กกะเฮิรตช์
ราคา ๑,๘๕๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๔๗ สร้างพิพิธภัณฑ์วัดสามชุก เพื่ออนุรักษ์ของเก่าในท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้ของชุมชน
ค่าก่อสร้าง ๗๔๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๗ บริจาคทรัพย์ สร้างอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๘ บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยให้สำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๙ บริจาคเครื่องขยายเสียง จำนวน ๑ ชุด ให้โรงเรียนหรรษาสุจิต
วิทยา ๒ อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ๒๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๙ บริจาค คอมพิวเตอร์พร้อมโต๊ะวางคอมฯ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๔๙ บริจาคอุปกรณ์ ให้สำนักประชาสัมพันธ์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนวมเพิ่มทุนการศึกษา ๑๖,๐๐๐ บาท
๑๓.งานพิเศษ
พ.ศ.๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

               ให้ดูแลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ.๒๕๕๑ เข้าประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตามมติมหาเถรสมาคม

               ที่ ๑๔๓/๒๕๔๖
ประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดวิมลโภคาราม ตามมติมหาเถรสมาคมที่ ๑๔๓/๒๕๔๖

                เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกครั้งที่คณะสงฆ์กำหนดประชุม
พ.ศ.๒๕๕๒ ประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตามมติมหาเถรสมาคมที่

               ๑๔๓/๒๕๔๖
ประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดวิมลโภคาราม จังหวัดสุพรรณบุรี   

                       เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกครั้งที่คณะสงฆ์กำหนดประชุม
พ.ศ.๒๕๕๓ ประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดวิมลโภคาราม ตามมติมหาเถรสมาคม

                       ที่ ๑๔๓/๒๕๔๖
ประชุมพระสังฆาธิการ ณ วัดป่าเลไลบก์วรวิหาร ตามมติมหาเถรสมาคมที่ ๑๔๓/๒๕๔๖
               เข้าร่วมประชุมพระสังฆาธิการทุกครั้งที่คณะสงฆ์กำหนดประชุม
รางวัลเกียรติยศ
พ.ศ.๒๕๓๘ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาด้าน  

            การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา            

             สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสถาบัน
                เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับรางวัลเสมาคุณปการ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวง
                ศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟู
                แม่น้ำท่าจีน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง
                ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับ “เข็มเยาวชนพระราชทานพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
               บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน จากกระทรวงพัฒนาสังคม
                และความมั่นคงของมนุษย์
พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวง
                วัฒนธรรม ด้านศาสนา
พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับรางวัลโล่เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ
                พระพุทธศาสนา จากศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา
                แห่งประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับรางวัลโล่เกียรติคุณ ผู้สนับสนุนโครงการฟื้นฟู
               ศีลธรรมโลก จากมหาเถรสมาคม และคณะกรรมาธิการ
               ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับรางวัลโล่และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์
               ในการสนับสนุนกิจการงานพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์
               จัดตั้งสถานีเผยแพร่ภาพและเสียงของคณะสงฆ์ ภายใต้กำกับ
                ของมหาเถรสมาคม
๑๔.สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
                ราชทินนาม ที่ “พระครูสุวรรณวิจิตร”
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
                เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เทียบเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
                ราชทินนามเดิม

watsamchuk-001รับเข็มเยาวชนพระราชทาน พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2551

watsamchuk-002